ร่างกายมนุษย์ สัตว์ หรือพืชทั้งหลายจะมีโครงสร้างที่ประกอบขึ้นจากหน่วยที่เล็กที่สุดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจนกระทั่งถึงส่วนประกอบที่ใหญ่ที่สุด แต่ละส่วนจะมีการทำงานที่สัมพันธ์กัน โดยเซลล์ชนิดเดียวกันจะรวมตัวเป็นเนื้อเยื่อ (tissues) เนื้อเยื่อหลาย ๆ ประเภทเมื่อมาทำงานร่วมกัน เรียกว่าอวัยวะ (organ) แต่ละอวัยวะเมื่อทำงานร่วมกันเรียกว่าระบบ (system) ดังนั้นเมื่อเซลล์มารวมกลุ่มเป็นเนื้อเยื่อพิเศษ เช่น กล้ามเนื้อ เส้นประสาท กระดูก ฯลฯ เนื้อเยื่อเหล่านี้จะทำงานร่วมกันเป็นอวัยวะและในที่สุดอวัยวะเหล่านี้จะถูกจัดสรรเป็นระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบกล้ามเนื้อ ระบบต่อมต่าง ๆ และระบบประสาท เป็นต้นระบบต่าง ๆ ในร่างกายระบบต่าง ๆ ในร่างกายมีการทำงานที่สัมพันธ์กันเพื่อให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ การทำงานของระบบภายในร่างกาย อาจจำแนกออกได้เป็น 10 ระบบ
1.1 ความสำคัญ และหลักการของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
1. รักษาอนามัยส่วนบุคคล
2. บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4. พักผ่อนให้เพียงพอ
5. ทำจิตในให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
6. หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ
7. ตรวจเช็คร่างกาย
1.2.1 องค์ประกอบของระบบประสาท
1. ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system)
สมอง ชั้นนอกมีสีเทา เรียกว่า เกรย์แมตเตอร์ ซึ่งเป็นที่รวมแอกซอนชนิดที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ส่วนชั้นในมีสีขาว เรียกว่า ไวท์ แมตเตอร์เป็นส่วนของใยประสาทที่ออกจากเซลล์ประสาท
ไขสันหลัง ไขสันหลังจะมีเยื่อหุ้ม 3 ชั้น และมีของเหลวบรรจุอยู่ในเยื่อหุ้มสมอง ไขสันหลังทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายส่งต่อไปยังสมอง และรับกระแสประสาทตอบสนองจากสมองเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ควบคุมปฏิกิริยารีเฟลกซ์ (reflex action) หรือปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างกะทันหัน
1.2.2 การทำงานของระบบประสาท
ระบบประสาทเป็นระบบที่ทำงานประสานกันกับระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาทยังรับกระแสประสาทจากอวัยวะภายในต่าง ๆ และส่งคำสั่งกลับไปควบคุมการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด อัตราการหายใจ ฯลฯ
1.2.3 การบำรุงรักษาระบบประสาท
1.2.4 ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณ ป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง หลีกเลี่ยงยาชนิดต่าง ๆ ที่มีผลต่อสมอง ผ่อนคลายความเครียดรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
ระบบสืบพันธุ์ เป็นระบบที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตให้มากขึ้นตามธรรมชาติ ทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไป
1.3.1 อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
1. อัณฑะ (testis)
2. ถุงหุ้มอัณฑะ (scrotum)
3. หลอดเก็บตัวอสุจิ (epididymis)
4. หลอดนำตัวอสุจิ (vas deferens)
5. ต่อมน้ำสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle)
6. ต่อมลูกหมาก (prostate gland)
7. ต่อมคาวเปอร์ (cowper’s glands)
1.3.2 อวัยวะสืบพันธ์เพศหญิง
1. รังไข่ (ovary) ทำหน้าที่ดังนี้
1) ผลิตไข่ (ovum)
2) สร้างฮอร์โมนเพศหญิง
(1) เอสโทรเจน (estrogen)
(2) โพรเจสเทอโรน (progesterone)
2. ท่อนำไข่ (oviduct)
3.มดลูก (uterus)
4. ช่องคลอด (vagina)
1.3.3 การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์
ดูแลร่างกายให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำความสะอาดร่างกายอย่างทั่วถึงสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่ใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว และเครื่องนุ่งห่มร่วมกับผู้อื่นไม่สำส่อนทางเพศ เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติใด ๆ เกี่ยวกับอวัยวะเพศ ควรรับปรึกษาแพทย์
1.4 ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System) เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน
1. ต่อมใต้สมอง (pituitary gland)
2. ต่อมหมวกไต (adrenal gland)
3. ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland)
4. ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland)
5. ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน (islets of langerhans)
6. รังไข่ (ovary) ในเพศหญิง และอัณฑะ (testis)
7. ต่อมไทมัส (thymus gland)
1.4.2 การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ
เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบ ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดปริมาณเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ พักผ่อนให้เพียงพอ มีความคิดสร้างสรรค์ ส่งผลไปที่ต่อมใต้สมองทำให้หลั่งฮอร์โมนที่ดีมีผลทำให้สุขภาพและสุขภาพจิตดี