1. ชื่อโครงการ
โครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมสู่สุขภาพที่ดีในชุมชน
2.หลักการและเหตุผล
สิ่งแวดล้อมนั้นมีส่วนสำคัญต่อสุขภาพของคนในชุมชนนั้นๆ ถ้าชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดีและเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาสุขภาพของคนในชุมชน ก็จะทำให้ชุมชนนั้นๆเป็นชุมชนที่มีความสุขเพราะสามารถทำกิจกรรมประจำวันได้อย่างราบรื่นเพราะมีสุขภาพที่ดี และมีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและดีต่อสุขภาพส่วนรวม แต่ถ้าสิ่งแวดล้อมนั้นไม่ดี จะทำให้สุขภาพของคนในชุมชนย่ำแย่ และไม่มีความสุขเพราะสังคมนั้นไม่น่าอยู่ และไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ การที่จะพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนนั้น ต้องได้รับความช่วยเหลือจากทุกส่วน เพราะทุกคนก็เป็นส่วนของชุมชน ซึ่งสิ่งแวดล้อมนั้นต้องสะอาด และมีแหล่งออกกำลังกายสำหรับกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว หรือสำหรับออกกำลังกายธรรมดา หรือแม้แต่การพักผ่อนหย่อนใจ
3. วัตถุประสงค์
- เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดี
- เพื่อให้สิ่งแวดล้อมในสังคมมีการพัฒนาถึงระดับที่รองรับสุขภาพของทุกคน
- ทำให้การออกกำลังกายนั้นไม่ยากต่อการเข้าถึง
- เพื่อให้ชีวิตประจำวันของคนในชุมชนดีขึ้นและมีความสุข
4. กลุ่มเป้าหมาย
คนในชุมชน ทุกเพศทุกวัย
5. วิธีดำเนินการ
- มีการจัดตั้งคณะบริหารสาธารณสุขของพึ้นที่จากคนในชุมชน ซึ่งมีหน้าที่ในการวางแผนพัฒนาสาธารณะสุข
- มีการจัดทำสวนและปลูกต้นไม้เพิ่มเติมในจุดต่างๆ เพื่อการพัฒนาของอากาศ
- จัดทำสวนสาธารณะ และส่วนออกกำลังกาย ที่เข้าถึงง่าย
- ทำให้การออกกำลังกายนั้น ดูง่ายต่อการเริ่มต้น ไม่เกี่ยวกับอายุ
- จัดตั้งชมรมที่พัฒนาสิ่งแวดล้อม เช่น ชมรมทำความสะอาดถนน ชมรมปลูกต้นไม้ ฯลฯ
6. ระยะเวลาการดำเนินการ
ใช้เวลาวางแผนและเริ่มรับสมัครอาสาสมัครประมาน 2 เดือน หลังจากนั้นโครงการก็สามารถเดินการได้ต่อไป ขึ้นอยู่กับการตอบรับของสังคมนั้นๆ
7. สถานที่การดำเนินการ
หมู่บ้านต่างๆ คนในชุมชนเล็กๆ
8. งบประมาน
ไม่มาก ประมาน 3000 บาทเพื่อการวางแผนเริ่มต้น เพราะเป็นการรับอาสาสมัครจากคนที่อยากจะทำจริงๆ ชมรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยกวาดถนน เก็บขยะ และปลูกต้นไม้ ก็ไม่ได้ใช้ทุนมาก เป็นการบริจาคจากอาสาสมัคร
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ดูน่าอยู่ แล่ะส่งเสริมสุขภาพและชีวิตที่มีความสุข
- ทำให้คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีและสุขภาพจิตที่ดี
- การออกกำลังกายเป็นเรื่องง่าย มีสถานที่และอุปกรณ์ที่เข้าถึงง่าย
10. ผู้รับผิดชอบโครงการ
นายธนสักก์ เจนมานะ ม.6/1 เลขที่ 2
basketball

PE
วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
การจับคู่ในการเต้นลีลาศ
การจับคู่ในการเต้นลีลาศ ( THE HOLD )
การจับ คู่ในการเต้นลีลาศเป็นสิ่งที่มีต้องให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ เพราะถ้าจับคู่ไม่ถูกต้องตามแบบแผนนอกจากจะขาดความสง่างามแล้วยังเป็น อุปสรรคอย่างยิ่งในการนำหรือตามของคู่ทำให้การทรงตัวเสียไปและการก้าวเท้า ของคู่จะไม่สอดคล้องสัมพันธ์กัน หรืออาจจะเหยียบเท้ากันได้
การจับคู่เริ่มต้นลีลาศที่นิยมใช้โดยทั่วไปมีอยู่ 2 แบบ คือ
1. แบบบอลรูมปิด ( CLOSED BALLROOM )
2. แบบบอลรูมเปิดหรือพรอมเมอหนาด ( OPENED BALLROOM OR PROMENADE POSITION )
การจับคู่แบบบอลรูมปิด
ผู้ชาย
1. ยืนตัวตรงเท้าชิด ปลายเท้าชี้ตรงไปข้างหน้า น้ำหนักอยู่บริเวณปลายเท้า ลำตัวตั้งตรง เกร็งลำตัวบริเวณเอวเล็กน้อยโดยไม่ต้องเกร็งไหล่ คอและศีรษะตั้งตรงตามสบาย
2. ใช้มือซ้ายจับมือขวาของผู้หญิง โดยการคีบนิ้วทั้งสี่ของผู้หญิงไว้ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ โอบนิ้วมือที่เหลือแตะหลังมือขวาของผู้หญิงโดยไม่บีบหรือเกร็งมือ
3. มือซ้ายไม่บิดงอจะเป็นแนวตรงตลอดถึงข้อศอก แขนซ้ายท่อนบนจากไหล่ถึงข้อศอกลาดลงเล็กน้อย พยายามให้ข้อศอกงออยู่ในระดับเดียวกับแผ่นหลังของผู้หญิง ระวังอย่าให้เอนไปข้างหน้าหรือข้างหลัง
4. แขนซ้ายตั้งแต่ข้อศอกจนถึงฝ่ามือ หักมุมชี้ตรงขึ้นและเอนไปข้างหน้าเล็กน้อยพยายามรักษาระดับเดิมจากไหล่ถึง ข้อศอกไว้ ปลายแขนเอนเข้าหาศีรษะเล็กน้อย
5. แขนขวาตั้งแต่ไหล่จนถึงข้อศอกลาดลงจนเกือบมีลักษณะเดียวกับแขนซ้าย ศอกขวายื่นล้ำจากแนวไหล่ออกไปข้างหน้าเล็กน้อย เพราะจะต้องอ้อมไปแตะตรงกลางหลังของผู้หญิง ระวังอย่างยื่นศอกล้ำออกไปมากเกินไปและโอบลึกเกินไป ข้อศอกไม่ตกมาแนบข้างลำตัว
2. ใช้มือซ้ายจับมือขวาของผู้หญิง โดยการคีบนิ้วทั้งสี่ของผู้หญิงไว้ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ โอบนิ้วมือที่เหลือแตะหลังมือขวาของผู้หญิงโดยไม่บีบหรือเกร็งมือ
3. มือซ้ายไม่บิดงอจะเป็นแนวตรงตลอดถึงข้อศอก แขนซ้ายท่อนบนจากไหล่ถึงข้อศอกลาดลงเล็กน้อย พยายามให้ข้อศอกงออยู่ในระดับเดียวกับแผ่นหลังของผู้หญิง ระวังอย่าให้เอนไปข้างหน้าหรือข้างหลัง
4. แขนซ้ายตั้งแต่ข้อศอกจนถึงฝ่ามือ หักมุมชี้ตรงขึ้นและเอนไปข้างหน้าเล็กน้อยพยายามรักษาระดับเดิมจากไหล่ถึง ข้อศอกไว้ ปลายแขนเอนเข้าหาศีรษะเล็กน้อย
5. แขนขวาตั้งแต่ไหล่จนถึงข้อศอกลาดลงจนเกือบมีลักษณะเดียวกับแขนซ้าย ศอกขวายื่นล้ำจากแนวไหล่ออกไปข้างหน้าเล็กน้อย เพราะจะต้องอ้อมไปแตะตรงกลางหลังของผู้หญิง ระวังอย่างยื่นศอกล้ำออกไปมากเกินไปและโอบลึกเกินไป ข้อศอกไม่ตกมาแนบข้างลำตัว
6. ฝ่ามือขวาแตะตรงบริเวณใต้สะบักของผู้หญิง ปลายนิ้วมือพอดีกับกึ่งกลางสันหลังและแนบชิดกันไม่แตกแยกจากกัน
7. จับคู่ลีลาศในลักษณะยืนชิดกัน ผู้ชายจะดึงผู้หญิงให้ยืนอยู่ตรงหน้าหรือยืนเยื้องมาทางขวามือของตนเองเล็กน้อย และยืนจับคู่ห่างกันประมาณ 6 นิ้ว
7. จับคู่ลีลาศในลักษณะยืนชิดกัน ผู้ชายจะดึงผู้หญิงให้ยืนอยู่ตรงหน้าหรือยืนเยื้องมาทางขวามือของตนเองเล็กน้อย และยืนจับคู่ห่างกันประมาณ 6 นิ้ว
ผู้หญิง
1. ยืนตัวตรงเกร็งบริเวณเอนเล็กน้อยโดยไม่ยกและเกร็งไหล่ ยืนให้ตรงกับผู้ชายหรือยืนเยื้องไปทางซ้ายมือของตัวเองเล็กน้อย แต่ระวังอย่าให้มากเกินไป
2. ยื่นมือขวาให้ผู้ชายจับในระดับปกติ นิ้วมือทั้งสี่ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือแนบชิดกัน
3. วางแขนซ้ายพาดทับแขนขวาของผู้ชายเบาๆ นิ้วมือซ้ายแนบชิดกันแตะบนต้นแขนขวาของผู้ชายค่อนไปจนเกือบถึงไหล่
1. ยืนตัวตรงเกร็งบริเวณเอนเล็กน้อยโดยไม่ยกและเกร็งไหล่ ยืนให้ตรงกับผู้ชายหรือยืนเยื้องไปทางซ้ายมือของตัวเองเล็กน้อย แต่ระวังอย่าให้มากเกินไป
2. ยื่นมือขวาให้ผู้ชายจับในระดับปกติ นิ้วมือทั้งสี่ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือแนบชิดกัน
3. วางแขนซ้ายพาดทับแขนขวาของผู้ชายเบาๆ นิ้วมือซ้ายแนบชิดกันแตะบนต้นแขนขวาของผู้ชายค่อนไปจนเกือบถึงไหล่
- ข้อเสนอแนะในการจับคู่ลีลาศแบบบอลรูมปิด
ในการจับคู่ลีลาศแบบบอลรูมปิด จะพบว่าคู่ลีลาศมีข้อบกพร่องในการจับคู่ ที่พบเห็นบ่อยๆ มีดังนี้
1. คู่ลีลาศยืนอยู่ชิดหรือห่างกันเกินไป
2. ในขณะลีลาศเมื่อมีการเคลื่อนที่และมีการใช้เท้าเฉียงทะแยงมุมไปทางด้านข้าง ถ้าคู่ลีลาศเคลื่อนที่ไม่สัมพันธ์กัน จะทำให้ทั้งคู่รู้สึกว่า การเคลื่อนที่นั้นไม่ราบรื่น
3. มือซ้ายของผู้หญิงมักไม่วางที่ต้นแขนขวาของผู้ชาย
4. ถ้ามือขวาของผู้ชานแตะทางด้านหลังของผู้หญิงสูงหรือต่ำเกินไป จะทำให้ผู้หญิงเสียการทรงตัวได้ง่าย
5. ในขณะเคลื่อนที่ถอยหลัง น้ำหนักตัวของผู้หญิงมักจะทิ้งไปข้างหลังและตกบนส้นเท้ามากเกินไป
การจับคู่แบบบอลรูมเปิด
1. ผู้หญิงจะยืนอยู่ทางขวามือของผู้ชาย หันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน ด้านข้างลำตัวของผู้หญิงและผู้ชายอยู่ชิดกัน
2. ผู้ชายใช้แขนขวาโอบไปที่เอวของผู้หญิงทางด้านหลัง ไหล่ขวาบิดเข้าหาผู้หญิง ยกข้อศอกขวาขึ้นสูงพอประมาณ
3. ผู้หญิงใช้มือซ้ายวางที่บริเวณไหล่ขวาของผู้ชาย โดยวางแขนซ้ายพาดทับแขนขวาของ ผู้ชายเบาๆ
4. ผู้ชายใช้มือซ้ายจับมือขวาของผู้หญิง เหยียดแขนซ้ายไปข้างหน้า หรือจะงอศอกซ้ายเข้ามาเล็กน้อยก็ได้นอกจากนี้ ยังมีการจับคู่ลีลาศอีกลักษณะหนึ่ง คือ การจับคู่ลีลาศในประเภทจังหวะลาตินอเมริกัน การจับคู่ในการลีลาศจังหวะประเภทนี้ จะมีลวดลายการลีลาศและการจับคู่ที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับรูปแบบของการลีลาศ
2. ผู้ชายใช้แขนขวาโอบไปที่เอวของผู้หญิงทางด้านหลัง ไหล่ขวาบิดเข้าหาผู้หญิง ยกข้อศอกขวาขึ้นสูงพอประมาณ
3. ผู้หญิงใช้มือซ้ายวางที่บริเวณไหล่ขวาของผู้ชาย โดยวางแขนซ้ายพาดทับแขนขวาของ ผู้ชายเบาๆ
4. ผู้ชายใช้มือซ้ายจับมือขวาของผู้หญิง เหยียดแขนซ้ายไปข้างหน้า หรือจะงอศอกซ้ายเข้ามาเล็กน้อยก็ได้นอกจากนี้ ยังมีการจับคู่ลีลาศอีกลักษณะหนึ่ง คือ การจับคู่ลีลาศในประเภทจังหวะลาตินอเมริกัน การจับคู่ในการลีลาศจังหวะประเภทนี้ จะมีลวดลายการลีลาศและการจับคู่ที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับรูปแบบของการลีลาศ
การจับคู่แบบลาตินอเมริกัน
การจับคู่ลีลาศแบบปิด
การจับคู่ลีลาศแบบปิด มีความแตกต่างจากการจับคู่ลีลาศแบบบอลรูมปิด ดังนี้
1. ระยะห่างระหว่างคู่ลีลาศ ทั้งคู่จะยืนห่างกันมากกว่าการจับคู่ลีลาศแบบบอลรูมปิด
2. มือขวาของผู้ชายแตะตรงสะบักซ้ายของผู้หญิง แทนที่จะแตะตรงกลางหลัง
3. แขนซ้ายของผู้หญิง วางซ้อนทาบอยู่บนแขนขวาของผู้ชายอย่างสบายๆ
4. มือซ้ายของผู้ชายยังคงจับมือขวาของผู้หญิงไว้เหมือนกับการจับคู่ลีลาศแบบบอลรูมปิด
การจับคู่ลีลาศแบบปิด มีความแตกต่างจากการจับคู่ลีลาศแบบบอลรูมปิด ดังนี้
1. ระยะห่างระหว่างคู่ลีลาศ ทั้งคู่จะยืนห่างกันมากกว่าการจับคู่ลีลาศแบบบอลรูมปิด
2. มือขวาของผู้ชายแตะตรงสะบักซ้ายของผู้หญิง แทนที่จะแตะตรงกลางหลัง
3. แขนซ้ายของผู้หญิง วางซ้อนทาบอยู่บนแขนขวาของผู้ชายอย่างสบายๆ
4. มือซ้ายของผู้ชายยังคงจับมือขวาของผู้หญิงไว้เหมือนกับการจับคู่ลีลาศแบบบอลรูมปิด
การจับคู่ลีลาศแบบเปิด พบมากในการลีลาศจังหวะไจฟว์และจังหวะร็อค แอนด์ โรล เป็นการจับมือเพียงข้างเดียว โดยผู้ชายใช้มือซ้ายจับมือขวาของผู้หญิง ยืนห่างกันในระยะที่ต่างตนต่างเหยียดแขนได้พองาม ส่วนมือข้างที่เป็นอิสระจะถูกยกไว้ข้างลำตัว หรืออาจจะยกชูสูงขึ้นก็ได้แล้วแต่ลีลาของคู่ลีลาศ
การจับคู่ลีลาศแบบข้าง จะพบมากการลีลาศจังหวะ ชา ชา ช่า และจังหวะ คิวบัน รัมบ้า การจับคู่ลีลาศแบบนี้เป็นการจับคู่ลีลาศด้วยมือข้างเดียว และจับในขณะที่ทั้งผู้ชายและผู้หญิงยืนหันหน้าเข้าหากัน หรือหันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งคู่ยืนห่างกันพอประมาณ ส่วนแขนข้างที่เป็นอิสระอาจเหยียดออกไปข้างลำตัวโดยงอแขนเล็กน้อย หรืออาจยกชูสูงขึ้นได้
การจับคู่ลีลาศแบบสองมือ มักนำมาใช้ลีลาศในจังหวะไจฟว์ เป็นส่วนมาก ทั้งผู้ชายและผู้หญิงจะยืนหันหน้าเข้าหากันและห่างกันพอสมควร มือซ้ายของผู้ชายจับมือขวาของผู้หญิงและมือขวาของผู้ชายจับมือซ้ายของ ผู้หญิง ลักษณะการจับมือ ผู้ชายจะหงายฝ่ามือทั้งสองข้างขึ้น ผู้หญิงจะคว่ำฝ่ามือทั้งสองข้างวางลงบนฝ่ามือของผู้ชาย โดยผู้ชายใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกุมมือของผู้หญิงไว้
วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
บทที่ 1 กระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพ การทำงานของระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบต่อมไร้ท่อ
ร่างกายมนุษย์ สัตว์ หรือพืชทั้งหลายจะมีโครงสร้างที่ประกอบขึ้นจากหน่วยที่เล็กที่สุดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจนกระทั่งถึงส่วนประกอบที่ใหญ่ที่สุด แต่ละส่วนจะมีการทำงานที่สัมพันธ์กัน โดยเซลล์ชนิดเดียวกันจะรวมตัวเป็นเนื้อเยื่อ (tissues) เนื้อเยื่อหลาย ๆ ประเภทเมื่อมาทำงานร่วมกัน เรียกว่าอวัยวะ (organ) แต่ละอวัยวะเมื่อทำงานร่วมกันเรียกว่าระบบ (system) ดังนั้นเมื่อเซลล์มารวมกลุ่มเป็นเนื้อเยื่อพิเศษ เช่น กล้ามเนื้อ เส้นประสาท กระดูก ฯลฯ เนื้อเยื่อเหล่านี้จะทำงานร่วมกันเป็นอวัยวะและในที่สุดอวัยวะเหล่านี้จะถูกจัดสรรเป็นระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบกล้ามเนื้อ ระบบต่อมต่าง ๆ และระบบประสาท เป็นต้นระบบต่าง ๆ ในร่างกายระบบต่าง ๆ ในร่างกายมีการทำงานที่สัมพันธ์กันเพื่อให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ การทำงานของระบบภายในร่างกาย อาจจำแนกออกได้เป็น 10 ระบบ
1.1 ความสำคัญ และหลักการของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
1. รักษาอนามัยส่วนบุคคล
2. บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4. พักผ่อนให้เพียงพอ
5. ทำจิตในให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
6. หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ
7. ตรวจเช็คร่างกาย
1.2.1 องค์ประกอบของระบบประสาท
1. ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system)
สมอง ชั้นนอกมีสีเทา เรียกว่า เกรย์แมตเตอร์ ซึ่งเป็นที่รวมแอกซอนชนิดที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ส่วนชั้นในมีสีขาว เรียกว่า ไวท์ แมตเตอร์เป็นส่วนของใยประสาทที่ออกจากเซลล์ประสาท
ไขสันหลัง ไขสันหลังจะมีเยื่อหุ้ม 3 ชั้น และมีของเหลวบรรจุอยู่ในเยื่อหุ้มสมอง ไขสันหลังทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายส่งต่อไปยังสมอง และรับกระแสประสาทตอบสนองจากสมองเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ควบคุมปฏิกิริยารีเฟลกซ์ (reflex action) หรือปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างกะทันหัน
1.2.2 การทำงานของระบบประสาท
ระบบประสาทเป็นระบบที่ทำงานประสานกันกับระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาทยังรับกระแสประสาทจากอวัยวะภายในต่าง ๆ และส่งคำสั่งกลับไปควบคุมการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด อัตราการหายใจ ฯลฯ
1.2.3 การบำรุงรักษาระบบประสาท
1.2.4 ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณ ป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง หลีกเลี่ยงยาชนิดต่าง ๆ ที่มีผลต่อสมอง ผ่อนคลายความเครียดรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
ระบบสืบพันธุ์ เป็นระบบที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตให้มากขึ้นตามธรรมชาติ ทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไป
1.3.1 อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
1. อัณฑะ (testis)
2. ถุงหุ้มอัณฑะ (scrotum)
3. หลอดเก็บตัวอสุจิ (epididymis)
4. หลอดนำตัวอสุจิ (vas deferens)
5. ต่อมน้ำสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle)
6. ต่อมลูกหมาก (prostate gland)
7. ต่อมคาวเปอร์ (cowper’s glands)
1.3.2 อวัยวะสืบพันธ์เพศหญิง
1. รังไข่ (ovary) ทำหน้าที่ดังนี้
1) ผลิตไข่ (ovum)
2) สร้างฮอร์โมนเพศหญิง
(1) เอสโทรเจน (estrogen)
(2) โพรเจสเทอโรน (progesterone)
2. ท่อนำไข่ (oviduct)
3.มดลูก (uterus)
4. ช่องคลอด (vagina)
1.3.3 การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์
ดูแลร่างกายให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำความสะอาดร่างกายอย่างทั่วถึงสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่ใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว และเครื่องนุ่งห่มร่วมกับผู้อื่นไม่สำส่อนทางเพศ เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติใด ๆ เกี่ยวกับอวัยวะเพศ ควรรับปรึกษาแพทย์
1.4 ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System) เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน
1. ต่อมใต้สมอง (pituitary gland)
2. ต่อมหมวกไต (adrenal gland)
3. ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland)
4. ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland)
5. ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน (islets of langerhans)
6. รังไข่ (ovary) ในเพศหญิง และอัณฑะ (testis)
7. ต่อมไทมัส (thymus gland)
1.4.2 การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ
เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบ ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดปริมาณเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ พักผ่อนให้เพียงพอ มีความคิดสร้างสรรค์ ส่งผลไปที่ต่อมใต้สมองทำให้หลั่งฮอร์โมนที่ดีมีผลทำให้สุขภาพและสุขภาพจิตดี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)